วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เเนวทางการประยุกต์ใช้หลักเศษรฐกิจพอเพียงจัการเรียนการสอน

เเนวทางการประยุกต์ใช้หลักเศษรฐกิจพอเพียงจัการเรียนการสอน
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมาและถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก,  ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
เศรษฐกิจพอเพียงกับเทคโนโลยีการศึกษา
      การใช้ เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( sufficiency economy using for ICT) การใช้ เศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ทางสายกลาง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ  ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
     เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ( ICT ) หมายถึง  การใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาเพื่อให้ได้มาข้อมูลและข่าวสาร การติดต่อ  การทำกิจกรรมต่าง ๆ  การ ส่งข้อมูลข่าวสาร และติดต่อปฏิสัมพันธ์กัน เป็นต้น
ปัญหาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ คือ เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่นับว่าทันสมัยและเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมาก เช่น คอมพิวเตอร์  โทรศัพท์มือถือ  ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ เป็นต้น ปัญหาก็คือ 1. ตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสามารถใช้เทคโนโลยีได้ดีมากน้อยแค่ไหน ใช้คุมค่าไหม  จำเป็นต่อการใช้เทคโนโลยีชิ้นที่แพงนั้นหรือเปล่า  2. คนไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  3.  บุคคลที่มีความรู้ความสามารถจริงในเรื่องเทคโนโลยีมีน้อย 4.การศึกษาของคนในประเทศส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ  เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาการนำเทคโนโลยีมาใช้
                การศึกษากับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือ สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาที่ได้ยกตัวอย่างมาแล้วนั้นต้นเหตุหลักประการหนึ่ง คือ การขาดโอกาสทางการศึกษา ความยากจน เป็นต้นเพราะการศึกษาเป็นกุญแจนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ดังพุทธพจน์ว่า  นัตถิ ปัญญา สมา อภา แสงสว่างเปรียบเสมือนปัญญาไม่มี  ปัญญาก็คือตัวความรู้นั้นเอง ฉะนั้น รัฐ ต้องส่งเสริมให้คนทุกคนมีการศึกษาและคุณธรรมก่อน โดยเฉพาะให้การศึกษาเกี่ยวกับทางสายกลาง หรือเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต ในการประกอบอาชีพ และการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศที่ทันสมัยในการหาข้อมูล เพราะถือว่าในโลกอนาคตจะเป็นคลังอาวุธคลังปัญญาที่ดีเยี่ยม
                ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ คือ ภาครัฐ  สภาพแวดล้อม เช่นมหาวิทยาลัย  สังคม  ครอบครัว  ตัวผู้ใช้ ( ต้องมีความกระตือรือร้นและยอมรับในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อแบบใหม่ที่นำ มาใช้ )  ต้องสนับสนุนส่งเสริมและต้องสนับสนุนส่งเสริมปลูกฝังตั้งแต่เด็ก เช่น ให้เป็นนโยบายหลักของชาติ ให้งบประมาณมากเพียงพอ
                การนำเศรษฐกิจพอเพียงกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระ ราชดำรัส ได้แก่ รู้จักใช้ตามความจำเป็น และตามกำลังทรัพย์ของคนนั้น หรือเรียกว่ารู้จักใช้พอประมาณ  ตามเหตุผล ไม่ไปตามกระแสโลกประกอบกับใช้หลักธรรมเข้ามาช่วย เช่น ไม่ใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ผิด และหมั่นดูแลรักษาตลอดถึงในการใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดตามความจำเป็น
เทคโนโลยีการศึกษาแบบพอเพียง (Sufficient Educational Technology : SET)
       ในวงการศึกษาไทย เทคโนโลยีการศึกษาแบบพอเพียง (Sufficient  Educational Technology : SET) โดยนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นฐานในการวิเคราะห์   ในการพัฒนาประเทศ (การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้วย) มีอยู่ ๓ ปัจจัยที่เราต้องคำนึงถึง คือ  เงิน  เทคโนโลยี และคน ถ้าจะมาดูกันที่ละปัจจัยและดูกันถึงระดับโรงเรียนเลย ก็คือ
  ๑. เงินและงบประมาณด้านการศึกษา  เรายังต้องพิจารณาด้านการบริหารจัดการ เพราะงบส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้กับค่าเงินเดือนบุคลากร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าน้ำ ค่าไฟ  ที่เหลือจึงไปสู่เด็กนักเรียน  (ไม่ได้ให้นักเรียนก่อน) จริงหรือไม่ ลองถามผู้บริหารดูสิครับ  ต่อมารัฐได้เปลี่ยนมาใช้การบริหารจัดการแบบรายหัว (หัวใครหัวมัน ก็จำนวนหัวผู้เรียนสิครับ) หมายถึง ถ้ามีนักเรียนเยอะ ก็จะได้เงินเยอะขึ้นด้วย จึงทำให้การศึกษาเป็นการแข่งขัน (แข่งกันรับผู้เรียน) เพราะคิดว่าโรงเรียนเป็นเหมือนบริษัท (ต้องมีการแข่งขัน) คิดว่าการแข่งกันรับผู้เรียน จะทำให้โรงเรียนแข่งกันเรื่องคุณภาพของโรงเรียนด้วย ซึ่งที่จริง ยังไม่เป็นเหตุปัจจัยที่สอดคล้องกันเท่าที่ควร เพราะฐานของโรงเรียนแต่ละแห่งแตกต่างกัน โรงเรียนใหญ่ มีชื่อเสียงย่อมได้เปรียบอย่างแน่นอน จนบางแห่งต้องมีการไปกู้เงินมาบริหารจัดการก็มี เมื่อกู้เงินมา สิ่งที่ตามมาก็คือดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายที่ต้องคำนึงถึง แล้วดอกเหล่านั้นก็มอบไปให้ผู้เรียน (โดยที่เขาไม่อยากรับ)
๒. เทคโนโลยีเรามีเป็นของตนเองแล้วหรือ?  ตอบเลยว่า ยังไม่มี ซื้อเขามาทั้งนั้น ทั้งจากสิงคโปร ไต้หวัน  จีน อเมริกา เกาหลี ฯลฯ ไม่มี made in thailand เลย ยกตัวอย่างลองไปดูชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์บ้านท่านสิครับ ถามว่ามีชิ้นไหนบ้าง ทั้ง Hardware และ Software ที่เป็นของไทยบ้าง ที่เห็นก็อาจมี แผ่นรองเม้าส์ กระมัง ที่ยังมี made in thailand ซ้ำร้ายบางทีก็ made in china ด้วยซ้ำไป  เมื่อซื้อมาแล้วยังใช้ไม่คุ้มค่าเลยด้วยซ้ำไป
๓. คนที่มีคุณภาพ การศึกษาไทยยังไม่สามารถผลิตคนที่มีคุณภาพสูง ได้จำนวนมากพอ จึงมีการลงทุนของต่างชาติเป็นเจ้าของ แล้วคนไทยเป็นลูกจ้าง หลายคนดีใจที่เป็นลูกจ้างฝรั่ง (อดีตผมก็เคยคิดว่าคงดี แต่ปัจจุบันเห็นสัจจธรรมแล้ว) ว่าเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น เราจำเป็นจะต้องเร่งสร้างนักเรียนนักศึกษาไทยให้มีคุณภาพ รู้เท่าทันต่าง ๆ รู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดในรูปแบบต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น ให้เป็นพื้นฐานของเด็กไทย สามารถสร้างงานได้เองบนพื้นฐานของประเทศไทย สังคมไทย  อันที่จริง แต่ละประเทศก็มีจุดดีจุดควรปรับปรุงทั้งสิ้น คนไทยก็เช่นกัน ฝรั่งก็เช่นกัน เราควรเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รู้เขารู้เรา แล้วพัฒนาปรับปรุงตนเอง
           3 ห่วง ๒ เงื่อนไขของเศรษฐกิจพอเพียง :
           ห่วง๑. พอประมาณ   เริ่มด้วยการวิเคราะห์/ประเมิน/ตรวจสอบ ศักยภาพความถนัด/กิจกรรมหลัก/เก่งอะไร  ของตนเอง (ตัวเอง/ครอบครัว/หมู่บ้าน/โรงเรียน/ประเทศ)  ให้ทำอันนั้น อะไรไม่ถนัดอย่าเพิ่งไปทำ เดินทางสายกลาง จากนั้นใช้ห่วง ๒. คือ
           ห่วง๒. มีเหตุมีผล  ในการเลือกหนทางในการพัฒนา อย่าประมาท รอบคอบ ระมัดระวัง
           ห่วง๓. มีภูมิคุ้มกัน ในตนเองอย่าประมาทตลอดเวลา  (บริหารความเสี่ยง (Risk Management))
           ทั้ง ๓ ห่วงต้องมี ๒ เงื่อนไขต่อไปนี้ประกอบกำกับอยู่เสมอ
           เงื่อนไขที่ ๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วยความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
           เงื่อนไขที่ ๒. เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วยซื้อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน

          จากพื้นฐานของประเทศไทย พบว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของเราเป็น ๒ ระบบ คือ ระบบเศรษฐกิจชุมชนและระบบเศรษฐกิจทุน ซึ่งระบบเศรษฐกิจแบบชุมชนมีลักษณะการพึงพาตนเอง พัฒนาและใช้เทคโนโลยีของตนเอง ส่วนระบบเศรษฐกิตแบบทุน มีลักษณะการใช้การลงทุน เป็นหลักใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งเราคงไม่อาจปฏิเสธ ทั้ง๒ระบบอย่างสิ้นเชิงหรือเลือกระบบใดระบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว  นั่นหมายถึงว่า เราจะทำอย่างไรให้ทั้งสองมีความสมดุลกันในการดำรงชีพที่ดีที่สุด โดยไม่เบียดบังคนอ่อนด้อยกว่า
               จากประเด็นเงิน คน เทคโนโลยี จะพบว่าการศึกษาไทยขาดทั้ง ๓ ปัจจัยอย่างมาก ขาดทั้งในแง่รูปธรรม และแง่การบริหารจัดการ ผมจึงอยากเสนอให้มีการวิเคราะห์ทั้ง ๓ ปัจจัย แล้วใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนไทย กับเด็กนักเรียนไทย กับสังคมไทย โดยเน้นการพึงตนเอง และเร่งพัฒนาเทคโนโลยีของเราเองให้เกิดขึ้น
สรุป
                เศรษฐกิจพอเพียงกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ คือ อย่างแรก ต้องคำนึงถึงเรื่องการศึกษาเป็นสำคัญเพราะการศึกษาเป็นกุญแจนำไปสู่การเรียน รู้  2. คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้  3.  การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ  สภาพแวดล้อม  สังคม  และโดยเฉพาะ ครอบครัวและตัวผู้ใช้เอง  4. การรู้จักใช้เทคโนโลยีนั้นให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและตามความจำเป็น จะเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถจะนำไปประยุกต์ได้กับทุกสาขาอาชีพ   ทุกสภาพการณ์   ทุกชีวิตของคนเรา ตั้งทั้งนี้ทั้งนั้น คุณธรรมจริยธรรมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน
แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
                การทำงานโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้น เป็นการทำงานโดยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นๆให้มีผลดีมากยิ่งขึ้นการ นำเอาเทคโนโลยีมาใช้นั้น ก็ต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานแต่ละอย่าง ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานด้านใด ก็จะเรียกว่าเทคโนโลยีด้านนั้นๆ เช่น ถ้านำมาใช้ทางด้านการแพทย์ ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ ถ้านำมาใช้ทางด้านการเกษตร ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร ถ้านำมาใช้ทางด้านวิศวกรรม ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ถ้านำมาใช้ทางด้านการศึกษา ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในด้านใดก็จะเรียกเทคโนโลยีด้านนั้น เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในส่วนต่างๆของวงการศึกษา การที่จะศึกษาถึง องค์ประกอบต่างๆในเทคโนโลยีการศึกษา จึงจำเป็นต้อง ทราบความหมายของคำต่างๆเหล่านี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน รวมถึงพัฒนาการระยะต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นการศึกษาถึงความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านนี้ทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ รวมถึงความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี การศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา ในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วน ใหญ่ เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนง ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น
เศรษฐกิพอเพียงกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
      การเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นกระทรวง ศึกษาธิการดำเนินการด้วยการให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ผ่านการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ผ่านโครงการต่างๆ ในแต่ละระดับ ได้แก่
1.ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เพื่อเป็นการนำนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยใช้คุณธรรมนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ โดยให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้ในชุมชน พร้อมสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียง ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลอย่างยั่งยืน
2.การศึกษาเอกชน ได้จัดการประชุมสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางการปฏิบัติงานโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
3.ระดับอาชีวศึกษา ได้มีการประชุมปฏิบัติการบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการ จัดการเรียนการสอน การบูรณาการกิจกรรม และการดำเนินการศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
4.ระดับอุดมศึกษา ได้ให้สถาบันอุดมศึกษาน้อมนำพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคม รวมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 เทคโนโลยีการศึกษากับการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเตรียมตัวในการจัดการศึกษาเพื่อทำให้เข็มแข็ง สามารถสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้หมด โดยอาศัยการประยุกต์ใช้หลักพอประมาณ หลักมีเหตุผล หลักภูมิคุ้มกัน  โดยกระบวนการในการจัดการเชิงกลยุทธ์ซึ่งประกอบด้วย การวางแผนกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปสู่ปฏิบัติ การควบคุมและประเมินผลเชิงกลยุทธ์ ความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับสถานศึกษาต้องคิดเอง เพราะแต่ละสถานศึกษาไม่เท่ากัน พัฒนาการสถานศึกษาทั้ง ๔ ภารกิจไม่เท่ากัน และตัวชี้วัดก็ต้องคิดเอง ถ้าทำอย่างนี้จะมีแผนพัฒนาสถานศึกษาที่บูรณาการรอบด้าน โดยสรุปแล้วเชื่อว่าปรัชญานี้มีประโยชน์ ถ้าทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง ผู้ปฏิบัติจะเกิดความสุขและความสำเร็จอย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น